วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012

 รายงานผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012


       อัพเดทล่าุสุด ข่าวรายงานผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012 วันที่ 7 พย.
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จากพรรคเดโมแครต สามารถรักษาเก้าอี้ผู้นำสหรัฐเป็นสมัยที่ 2 หลังคว้าชัยชนะขาดลอยเหนือนายมิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน ด้วยคะแนนคณะผู้เลือกตั้งล่าสุด 303  ต่อ 206  เสียง
โอบามา ซึ่งเคยสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้นำผิวสีคนแรกของสหรัฐ สร้างสถิติอีกครั้งด้วยการเป็นผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตคนที่ 2 ที่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐติดต่อกัน 2 สมัย นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยผู้ที่สามารถทำได้คนแรก คืออดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐระหว่างปี 2535-2543
นอกจากนี้ โอบามายังสร้างประวัติศาสตร์เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก ในรอบ 70 ปี ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ขณะที่อัตราว่างงานสูงกว่า 7.4% แม้อัตราการจ้างงานโดยรวมจะเพิ่มขึ้นกว่า 5 ล้านตำแหน่ง แต่อัตราการว่างงานประจำเดือนต.ค. กลับอยู่ที่ 7.9%
อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันกว่าครึ่งที่ออกมาใช้สิทธิ์ เชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังเผชิญเป็น “ผลงาน” ของอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ไม่ใช่โอบามา
ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุน และประชาชนจำนวนมากมารวมตัวกันหน้าทำเนียบขาว พร้อมกับส่งเสียงโห่ร้องแสดงความดีใจ เช่นเดียวกับผู้ขับขี่รถยนต์แทบทุกคัน ที่ต่างพากันบีบแตรเมื่อแล่นผ่านทำเนียบขาว อันเป็นสัญลักษณ์แสดงความยินดีต่อชัยชนะที่จะนำไปสู่การครองตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอีกหนึ่งสมัย โอบามาทวีตข้อความเพียงสั้นๆผ่านทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของเขา @barackobama ขอบคุณประชาชนและผู้สนับสนุนทุกคน ที่ช่วยกันทำวันนี้ให้เป็นจริง
เช่นเดียวกับบริเวณภายนอกศูนย์ประชุมในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ที่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตเริ่มหลั่งไหลเข้ามาจับจองพื้นที่ เพื่อรอการปรากฏตัวของโอบามา และครอบครัว พร้อมกับรับฟังสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะของเขา
รายงานระบุว่า ระหว่างที่การลงคะแนนเลือกตั้งกำลังดำเนินอยู่ โอบามาร่วมเล่นบาสเกตบอลกับกลุ่มเพื่อนสนิท ซึ่งมีทั้งบุคคลในแวดวงการเมือง และนักบาสเกตบอลอาชีพจากทีมชิคาโก บูลส์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่โอบามาปฏิบัติตั้งแต่วันหยั่งเสียงเลือกตั้งเบื้องต้น เพื่อหาตัวแทนพรรคเดโมแครตลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี ระหว่างเขากับนางฮอลลารี คลินตัน เมื่อปี 2551
แม้ผลการนับคะแนนจะยังไม่เสร็จสิ้นครบทั้ง 50 รัฐ แต่โอบามีคะแนนคณะผู้เลือกตั้งล่าสุดอยู่ที่ 303  จาก 538 เสียง ซึ่งถือว่าเกิน 270 เสียงตามที่รัฐธรรมนูญสหรัฐบัญญัติไว้ โดยโอบามาได้รับชัยชนะในรัฐดังต่อไปนี้ ( รัฐ-คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง )

แคลิฟอร์เนีย – 55 เสียง
คอนเนกติกัต – 5 เสียง
โคโลราโด – 9 เสียง
เดลาแวร์ – 3 เสียง
ฮาวาย – 4 เสียง
อิลลินอยส์ – 20 เสียง
ไอโอวา – 6 เสียง
เมน – 4 เสียง
แมริแลนด์ – 10 เสียง
แมสซาชูเซตส์ – 11 เสียง
มิชิแกน – 16 เสียง
มินนิโซตา – 10 เสียง
นิวแฮมป์เชียร์ – 4 เสียง
นิวเจอร์ซีย์ – 14 เสียง
นิวเม็กซิโก – 5 เสียง
นิวยอร์ก – 29 เสียง
เนวาดา – 6 เสียง
โอไฮโอ – 18 เสียง
ออริกอน – 7 เสียง
เพนซิลเวเนีย – 20 เสียง
ฟลอริดา – 29 เสียง
โรดไอแลนด์ – 4 เสียง
เวอร์จิเนีย – 13 เสียง
เวอร์มอนต์ – 3 เสียง
วอชิงตัน ดีซี – 3 เสียง
วอชิงตัน – 12 เสียง
วิสคอนซิน – 10 เสียง

มิตต์ รอมนีย์ VS บารัค โอบามา


ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012 โอบาม่า – รอมนีย์

    รายงานผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012 วันที่ 6 พย.

    ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งตัวขึ้นทันทีเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ตอบรับชัยชนะของโอบามา โดยมาปิดอยู่ที่ 1.2860 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 ยูโร ในการซื้อขายเมื่อช่วงเช้าวันนี้ ในตลาดโตเกียว และอยู่ที่ 1.2814 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 ยูโร หลังการซื้อขายในตลาดนิวยอร์กเมื่อวันอังคาร แต่เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแล้วอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 80.05 เยน ในตลาดโตเกียว และ 80.34 เยนในตลาดนิวยอร์ก
    ล่าสุดรอมนีย์ขึ้นเวทีที่ศูนย์ประสานงานเลือกตั้งของเขาในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ กล่าวแสดงความยินดีต่อโอบามา และอวยพรให้อีกฝ่ายประสบความสำเร็จ พร้อมกับยอมรับความพ่ายแพ้ และขอบคุณทีมงานหาเสียงของเขาทุกคน รวมถึงนายพอล ไรอัน ผู้สมัครคู่กับเขาในตำแหน่งรองประธานาธิบดี ที่ทำงานกันอย่างหนักตลอดระยะเวลากว่า 6 เดือนที่ผ่านมา.

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย


การปกครองของไทย

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ การปกครองส่วนกลาง 

ประกอบด้วย การบริหารราชการส่วนกลาง เป็นการจัดแบ่งหน่วยราชการทีบริหารงานออกเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม โดยแต่ละหน่วยงานมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
  1. สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่รวมงานต่างๆที่คล้ายกัน เข้าด้วยกัน มีรัฐมนตรีว่าการเป็นผู้บังคับบัญชา รวมแล้วมี 19 กระทรวง
รายชื่อกระทรวง
  1. กระทรวงกลาโหม
  2. กระทรวงการคลัง
  3. กระทรวงการต่างประเทศ
  4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  5. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  6. กระทรวงคมนาคม
  7. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8. กระทรวงพลังงาน
  9. กระทรวงพาณิชย์
  10. กระทรวงมหาดไทย
  11. กระทรวงยุติธรรม
  12. กระทรวงวัฒนธรรม
  13. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  14. กระทรวงศึกษาธิการ
  15. กระทรวงสาธารณสุข
  16. กระทรวงอุตสาหกรรม
  17. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  19. กระทรวงแรงงาน
  20. กรม เป็นหน่วยงานที่มีปริมาณ และคุณภาพงานขนาดใหญ่ มีฐานะเป็นนิติบุคคล
  21. ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ
การปกครองส่วนภูมิภาค การบริหารส่วนภูมิภาค หมายถึงการบริหารราชการของกระทรวง ทบวง กรม โดยบริหารงานภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง ได้แก่ จังหวัด อำเภอ
  • จังหวัด เป็นหน่วยการปกครองที่ใหญ่ที่สุด มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีขอบเขตครอบคลุมหลายๆอำเภอมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุด รับนโยบายละคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี
  • อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองที่ย่อยรองลงมาจากจังหวัด ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ ภายในอำเภอยังมีหน่วยย่อยรองลงไปคือ ตำบล และหมู่บ้าน
ในบางประเทศมีหน่วยย่อยของการปกครองที่เรียกว่า เขตปกครองตนเองอิสระ
การปกครองส่วนท้องถิ่น มีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภทได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาที่เป็นประเภทนี้

 โดยมีการแบ่งออกเป็น 76 จังหวัด สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค และมีการปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายแหล่ง เช่นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครเคยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองส่วนภูมิภาคแต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอ ปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอ และ 50 เขตในกรุงเทพมหานคร แต่ละจังหวัดมีอำเภอเมือง ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอเมืองเหมือนกัน แต่ละอำเภอสามารถแบ่งออกได้เป็นตำบล ซึ่งมีระดับเทียบเท่ากับแขวง ในกรุงเทพมหานคร แต่ละตำบลสามารถแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเขตการปกครองหน่วยเล็กที่สุด

การปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบหลักคือ
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีระบบการบริหารจัดการที่ต่างจากรูปแบบทั่วไป ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
การแบ่งเขตการปกครองอย่างไม่เป็นทางการกรุงเทพมหานครและอีก 5 จังหวัดซึ่งอยู่ติดกัน หรือที่เรียกว่าปริมณฑล มักเรียกรวมกันว่าเป็น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร ขยายตัวมาถึงพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกัน โดยการแบ่งอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถาน ได้แบ่งภูมิภาคของไทยออกเป็น 6 ภาค
การแบ่งเขตการปกครองในอดีตนับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2458 มาจนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่ามณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่หน่วยใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่าบริเวณ จังหวัดแรกๆ ของไทย เคยถูกเรียกว่าเมือง โดยพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแล ของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ในปี พ.ศ. 2449 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459[1] หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่าภาค ในระยะแรกนั้น ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 9 ภาค เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ ก็ยกเลิกไปในปีพ.ศ. 2499สำหรับเทศบาล เคยมีชื่อเรียกว่าสุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2451[2] และยกระดับเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542[3] ส่วนกิ่งอำเภอ ถือเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้ว กิ่งอำเภอซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่มักจะพัฒนาขึ้น จนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี โดยเมื่อวันที่ 
24สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอซึ่งมีอยู่ 81 แห่ง ก็พัฒนาขึ้นเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ แม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่ง จะยังมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในขณะนั้นก็ตาม

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน


One Vision, One Identity, One Community
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม

กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส
(รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) 
นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุ ประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน

สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง
        3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือแต่ละด้าน ดังนี้ 
               1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  
               2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
               3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
        สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
        อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
        กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
        กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงาน
ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
         ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียน ที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอา เซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
       ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 

       ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
           ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
           ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบ เดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้ อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็น ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญา ชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคม อาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้าง ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับ สนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่าน หลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของ โรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้ นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อ
คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนา พัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไป สู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนัก ศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้าน การศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมี ฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้อง ดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษา และวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดย มุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งใน ระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนา เนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับ การฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรม อาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่ มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรอง การมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับ มหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษา สำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริม ความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจาก ประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของ ภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรใน โรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่อง หมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน 
แบ่ง ปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะ ได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนิน การปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้ง ข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและ รายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผล การคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอา เซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน ที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอา เซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การ บรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การ เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอา เซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวม ทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิก ของอาเซียน         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรง งาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)
flag-brunei-darussalam
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
Head of State : His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu'izzaddin Waddaulah  
Capital : Bandar Seri Begawan 
Language(s) : Malay, English 
Currency : B$ (Brunei Dollar)
Ministry of Foreign Affairs & Trade of Brunei Darussalam Website:
flag-cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
Head of State : His Majesty King Norodom Sihamoni
Head of Government : Prime Minister Hun Sen
Capital : Phnom Penh
Language : Khmer
Currency : Riel Ministry of Foreign Affairs & International Cooperation of Cambodia Website: 
www.mfaic.gov.kh
flag-indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
Head of State : President Susilo Bambang Yudhoyono
Capital : Jakarta
Language : Indonesian
Currency : Rupiah
Department of Foreign Affairs of Indonesia Website: 
 www.deplu.go.id
flag-lao_pdr
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
Headof State : President Choummaly Sayasone
Head of Government : Prime Minister Thongsing Thammavong
Capital : Vientiane
Language : Lao
Currency : Kip
Ministry of Foreign Affairs of Lao PDR Website: 
www.mofa.gov.la
flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
Head of Government : The Honourable Dato' Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak
Capital : Kuala Lumpur
Language(s) : Malay, English, Chinese, Tamil
Currency : Ringgit
Ministry of Foreign Affairs of Malaysia Website: 
www.kln.gov.myASEAN-Malaysia National Secretariat Website: 
www.kln.gov.my/myasean
flag-myanmar
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
Head of State : Senior General Than Shwe
Head of Government : Prime Minister General Thein Sein
Capital : Nay Pyi Daw
Language : Myanmar
Currency : Kyat
Ministry of Foreign Affairs of Myanmar Website: 
www.mofa.gov.mm
flag-philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
Head of State : President Benigno S. Aquino III
Capital : Manila
Language(s) : Filipino, English, Spanish
Currency : Peso
Department of Foreign Affairs of the Philippines Website: 
www.dfa.gov.ph
flag_singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
Head of State : President Tony Tan Keng Yam
Head of Government : Prime Minister Lee Hsien Loong
Capital : Singapore
Language(s) : English, Malay, Mandarin, Tamil
Currency : S$ (Singapore Dollar)
Ministry of Foreign Affairs of Singapore Website: 
www.mfa.gov.sg
flag-thailand
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
Head of State : His Majesty King Bhumibol Adulyadej
Head of Government : Prime Minister Yingluck Shinawatra
Capital : Bangkok
Language : Thai
Currency : Baht
Ministry of Foreign Affairs of Thailand Website: 
www.mfa.go.th
flag-vietnam
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  : Socialist Republic of Vietnam
Head of State : President Truong Tan Dang
Head of Government : Prime Minister Nguyen Tan Dung
Capital : Ha Noi
Language : Vietnamese
Currency : Dong
Ministry of Foreign Affairs of Viet Nam Website: 
www.mofa.gov.vn