วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย


การปกครองของไทย

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ การปกครองส่วนกลาง 

ประกอบด้วย การบริหารราชการส่วนกลาง เป็นการจัดแบ่งหน่วยราชการทีบริหารงานออกเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม โดยแต่ละหน่วยงานมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
  1. สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่รวมงานต่างๆที่คล้ายกัน เข้าด้วยกัน มีรัฐมนตรีว่าการเป็นผู้บังคับบัญชา รวมแล้วมี 19 กระทรวง
รายชื่อกระทรวง
  1. กระทรวงกลาโหม
  2. กระทรวงการคลัง
  3. กระทรวงการต่างประเทศ
  4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  5. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  6. กระทรวงคมนาคม
  7. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8. กระทรวงพลังงาน
  9. กระทรวงพาณิชย์
  10. กระทรวงมหาดไทย
  11. กระทรวงยุติธรรม
  12. กระทรวงวัฒนธรรม
  13. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  14. กระทรวงศึกษาธิการ
  15. กระทรวงสาธารณสุข
  16. กระทรวงอุตสาหกรรม
  17. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  19. กระทรวงแรงงาน
  20. กรม เป็นหน่วยงานที่มีปริมาณ และคุณภาพงานขนาดใหญ่ มีฐานะเป็นนิติบุคคล
  21. ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ
การปกครองส่วนภูมิภาค การบริหารส่วนภูมิภาค หมายถึงการบริหารราชการของกระทรวง ทบวง กรม โดยบริหารงานภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง ได้แก่ จังหวัด อำเภอ
  • จังหวัด เป็นหน่วยการปกครองที่ใหญ่ที่สุด มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีขอบเขตครอบคลุมหลายๆอำเภอมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุด รับนโยบายละคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี
  • อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองที่ย่อยรองลงมาจากจังหวัด ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ ภายในอำเภอยังมีหน่วยย่อยรองลงไปคือ ตำบล และหมู่บ้าน
ในบางประเทศมีหน่วยย่อยของการปกครองที่เรียกว่า เขตปกครองตนเองอิสระ
การปกครองส่วนท้องถิ่น มีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภทได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาที่เป็นประเภทนี้

 โดยมีการแบ่งออกเป็น 76 จังหวัด สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค และมีการปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายแหล่ง เช่นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครเคยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองส่วนภูมิภาคแต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นอำเภอ ปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอ และ 50 เขตในกรุงเทพมหานคร แต่ละจังหวัดมีอำเภอเมือง ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอเมืองเหมือนกัน แต่ละอำเภอสามารถแบ่งออกได้เป็นตำบล ซึ่งมีระดับเทียบเท่ากับแขวง ในกรุงเทพมหานคร แต่ละตำบลสามารถแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเขตการปกครองหน่วยเล็กที่สุด

การปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบหลักคือ
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีระบบการบริหารจัดการที่ต่างจากรูปแบบทั่วไป ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
การแบ่งเขตการปกครองอย่างไม่เป็นทางการกรุงเทพมหานครและอีก 5 จังหวัดซึ่งอยู่ติดกัน หรือที่เรียกว่าปริมณฑล มักเรียกรวมกันว่าเป็น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร ขยายตัวมาถึงพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกัน โดยการแบ่งอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถาน ได้แบ่งภูมิภาคของไทยออกเป็น 6 ภาค
การแบ่งเขตการปกครองในอดีตนับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2458 มาจนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่ามณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่หน่วยใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่าบริเวณ จังหวัดแรกๆ ของไทย เคยถูกเรียกว่าเมือง โดยพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแล ของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ในปี พ.ศ. 2449 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459[1] หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่าภาค ในระยะแรกนั้น ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 9 ภาค เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ ก็ยกเลิกไปในปีพ.ศ. 2499สำหรับเทศบาล เคยมีชื่อเรียกว่าสุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2451[2] และยกระดับเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542[3] ส่วนกิ่งอำเภอ ถือเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้ว กิ่งอำเภอซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่มักจะพัฒนาขึ้น จนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี โดยเมื่อวันที่ 
24สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอซึ่งมีอยู่ 81 แห่ง ก็พัฒนาขึ้นเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ แม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่ง จะยังมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในขณะนั้นก็ตาม